หัวข้อข่าว : วิธีคัดสรรเพชรน้ำงาม   (อ่านแล้ว 1933)

วิธีคัดสรรเพชรน้ำงาม 


 
การจะรู้ว่าเพชรเม็ดใดเป็นเพชรน้ำงาม มีคุณภาพมีคุณค่าเป็นเพชรที่มีความงดงามก็โดยดูจากคุณลักษณะตามธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นสีของเพชรที่มีความขาวเป็นอย่างไร มีการปนเปื้อนของสีอื่นมากน้อยเพียงใด ต้องดูว่าเนื้อเพชรมีความใสสะอาดปราศจากสิ่งแปลกปลอมหรือไม่ พิจารณาความงามที่เกิดจากฝีมือการเจียระไนในเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเหลี่ยมมุมต่าง ๆ ความประณีตในการขัดเงาเพชรที่ผ่านการเจียระไนให้มีพื้นผิวที่เรียบเงาสะท้อนแสงแวววาว                    

ในอดีตที่ผ่านมาผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่มักจะใช้ความเชื่อใจในการซื้อเพชรจากผู้ขายเป็นหลัก เนื่องจากผู้ซื้อขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการประเมินคุณภาพและราคาที่เหมาะสม หรือไม่มีหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อด้วยตนเอง อีกทั้งยังขาดทักษะอย่างมากในการพิจารณาคุณภาพเพชรที่ถูกต้อง

ด้วยธรรมชาติของเพชรที่เป็นอัญมณีที่มีค่าการกระจายแสงที่สูง เมื่อเจียระไนเพชรให้ได้มาตรฐานตามแบบที่กำหนดก็ยิ่งทำให้เกิดประกายระยิบระยับสูงมากเมื่อต้องแสงไฟ จึงสังเกตพบว่าร้านค้าเพชรมักจะมีแสงไฟที่สว่างเจิดจ้า เพื่อทำให้เกิดประกายแสง ส่งผลให้ยากเกินกว่าจะประเมินคุณภาพที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง ทำให้มองเห็นข้อด้อยที่ปรากฎอยู่ในเพชรแต่ละเม็ดยากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาระดับความขาวของเพชร ก็ยิ่งไม่สามารถประเมินคุณภาพในร้านเพชรได้เลย เพราะสภาพในร้านเพชรโดยทั่วไปจะมีปริมาณแสงจากหลอดไฟเป็นจำนวนมากช่วยขับประกายแสงในเพชรให้เปล่งประกายออกมา อีกทั้งการจะรู้ว่าเพชรมีสีขาวเพียงใดนั้นจะต้องใช้เพชรสีต้นแบบมาทำการเทียบสีเปรียบเทียบด้วย และหากไม่มีความรู้ความชำนาญในการตรวจดูด้วยกล้องขยาย ก็จะไม่สามารถพิจารณาระดับการปนเปื้อนของสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในเนื้อความละเอียดประณีตในการเจียระไนเพชรให้ได้สัดส่วนที่สวยงาม เหลี่ยมมุมที่ได้รูปเป็นระบบระเบียบได้อย่างถูกต้อง  ดังนั้นเพื่อให้ผู้อ่านได้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินคุณภาพว่าเพชรที่สวยเป็นอย่างไร เพชรเม็ดใดที่ควรหลีกเลี่ยงและจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจอย่างไรในการพิจารณาเลือกซื้อเพชรเพื่อให้ได้สมค่ากับราคาที่จ่ายออกไป จะต้องทำความเข้าใจองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการด้วยกัน คือ
 
                        องค์ประกอบที่ 1 สี (Color)
                        องค์ประกอบที่ 2 ระดับความสะอาด (Clarity)
                        องค์ประกอบที่ 3 คุณภาพการเจียระไน (Cutting)
                        องค์ประกอบที่ 4 น้ำหนัก (Carat Weight)

ผู้คนโดยทั่วไปมักเข้าใจผิดคิดว่า “อัญมณีสีขาว” ก็คือ เพชร และเพชรต้องเป็นสีขาวเท่านั้น โดยไม่คิดว่าเพชรจะมีสีอื่น ๆ ด้วย
ส่วนอัญมณีที่เป็นสีอื่น ๆ ก็คิดว่าเป็นพวกพลอยสี (Colored Stone) ที่ไม่ใช่เพชร หากเป็นอัญมณีสีแดงก็มักเข้าใจว่าเป็นทับทิม (Ruby) ถ้าเป็นอัญมณีสีเหลืองก็คิดว่าเป็นบุษราคัม (Yellow Sapphire) และหากเป็นอัญมณีสีน้ำเงินก็เข้าใจว่าเป็นไพลิน (Blue Sapphire) เป็นต้น  แต่ในความเป็นจริงแล้วอัญมณีสีขาวตามธรรมชาตินั้นมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ซึ่งถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง ต้องเรียกว่า “ไร้สี” (Colorless) ตัวอย่างเช่น แซปไฟร์ไร้สี (Colorless Sapphire), โทแพซไร้สี (Colorless Topaz) และเขี้ยวหนุมานไร้สี (Colorless Quartz) เป็นต้น   

สำหรับเพชรสีนั้นก็จะมีอยู่ด้วยกันหลายสี ไม่ว่าจะเป็นสีน้ำตาล สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีฟ้า สีเทา หรือสีดำ แต่เนื่องจากเพชรสีมักจะปรากฎให้เห็นในตลาดได้ไม่บ่อยนัก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปริมาณเพชรไร้สีที่มีอยู่อย่างดาษดื่นในท้องตลาด เพชรสีจึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย หากแต่เป็นที่ต้องการของผู้นิยมการซื้ออัญมณีเพื่อการสะสมหรือเพื่อความแตกต่างและมักจะเรียกเพชรสีว่า “สีแฟนซี” เหตุที่เพชรไร้สีได้รับความนิยมจากผู้คนทั่วไปอย่างกว้างขวางก็เป็นเพราะเพชรไร้สีเป็นที่รู้จักของผู้คนมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาลเกือบหนึ่งพันปี เพชรไร้สีสามารถพบเห็นได้ง่ายกว่าเพชรสีแฟนซี และมีการผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก มีสนับสนุนส่งเสริมการค้าขายกันอย่างเป็นระบบเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการอย่างแพร่หลายทั่วโลก มีการจัดทำรายงานราคาซื้อขายในตลาดโลกเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการซื้อขาย อีกทั้งยังมีการจัดทำมาตรฐานระดับสีจากหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องทั่วโลก เกิดความสะดวกคล่องตัวเพราะมีความเชื่อมั่นในคุณภาพ ส่งผลให้เกิดการซื้อขายที่เป็นธรรมทั้งต่อผู้ซื้อและผู้ขาย

การจัดทำมาตรฐานสีของเพชรไร้สีนั้นกระทำได้ง่ายกว่าเพชรสีแฟนซีมาก เนื่องจากเพชรสีแฟนซีมีสีที่มีความแตกต่างและหลากหลาย มีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาจัดระบบหลายองค์ประกอบ และแต่ละองค์ประกอบก็ยากต่อการจัดให้เป็นมาตรฐานไม่ว่าจะเป็นการกำหนดค่ามาตรฐานของระดับความอ่อน – เข้มของสี (Tone) เช่น สีน้ำเงิน มีความเข้มตั้งแต่ฟ้าอ่อนจนถึงน้ำเงินเข้มจนเกือบดำ การกำหนดค่าความกว้างของเฉดสี (Hue) เช่น สีแดงก็มีเฉดสีตั้งแต่แดงอมม่วง แดงอมชมพู แดงอมส้ม เป็นต้น อีกทั้งยังต้องกำหนดค่าความอิ่มตัว (ความสด) ของสี (Saturation) ที่มีความยุ่งยากและซับซ้อนเป็นอย่างมาก                                 

การเลือกซื้อเพชรสีแฟนซีที่มีคุณภาพจะต้องเน้นที่ความเข้มของสี ซึ่งควรจะมีความเข้มมาก แต่ต้องไม่ถึงกับมืดดำและควรมีความสดของสีที่ดี กรณีเพชรสีน้ำตาล, น้ำตาลอมเหลือง, และน้ำตาลอมส้ม หรือที่ทางการค้าอาจจะเรียกว่าสีคอนยัค (Cognac), สีแชมเปญ (Champagne) นับเป็นเพชรสีที่มีมูลค่าน้อยกว่าเพชรสีอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง, สีชมพู, สีน้ำเงิน หรือสีเขียว   ขณะที่การจัดระดับคุณภาพเพชรสีขาวนั้นได้มีการกำหนดออกมาเป็นมาตรฐานจนเป็นที่ยอมรับของผู้คนที่เกี่ยวข้องทั่วโลก แม้ว่าจะมีหลายองค์กรได้นำเสนอรูปแบบชื่อเรียกระดับคุณภาพสีที่แตกต่างกัน แต่ก็ไม่แตกต่างกันในแง่ของระบบการจัดคุณภาพ

ระบบการจัดระดับคุณภาพเพชรสีขาว (ไร้สี)

ระบบการจัดระดับคุณภาพเพชรสีขาวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้เป็นสีของสถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งอเมริกา (GIA – Gemological Institute of America) ซึ่งเป็นองค์กรด้านอัญมณีศาสตร์    ชั้นนำของโลก เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และมีบทบาทสำคัญในการศึกษาค้นคว้าวิจัยศาสตร์ด้านอัญมณีเป็นอย่างมาก  GIA ได้สร้างระบบการเรียกชื่อระดับสีของเพชรไร้สีในรูปแบบที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจและการจดจำ ทำให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลของอุตสาหกรรมการค้าเพชร


GIA ได้แบ่งระดับสีของเพชรไร้สีโดยใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อความหมายเริ่มจากคุณภาพสีที่ดีที่สุดคือไม่มีสี (Colorless) โดยใช้ตัวอักษร “D” ซึ่งนับว่าเป็นระดับสีที่มีคุณค่าสูงสุด เพราะไม่มีสีอื่นใดมาปนเปื้อนเลย   ระดับรองลงมาก็ใช้ตัวอักษร “E…F…G…” เพื่อสื่อถึงระดับสีที่เริ่มมีสีอื่นเข้าเจือปนจากที่มีสีออกเหลืองอ่อนมาก ๆ ระดับ “H” จนกระทั่งระดับสีออกเหลืองอ่อน (Pale Yellow) อย่างเห็นได้ชัดคือ อักษร “N” และหากเป็นตัวอักษรถัดไปคือตัวอักษร “O” ถึง ตัวอักษร “Z” จะเห็นเป็นสีเหลืองนวลจนเป็นสีเหลือง

รับซื้อแหวนเพชรแท้มือสอง

 

Tel: 081-830-6181 

Line : @rolex99

กดลิงค์เพื่อเข้า Line @rolex99

 

 

www.รับซื้อเพชรให้ราคาสูง.com

รับซื้อเพชร

 



Posted by: admin ( 2023-03-02 20:10:42 )